งานกราบนมัสการ หลวงปู่ทองมา ถาวโร

งานกราบนมัสการ หลวงปู่ทองมา ถาวโร
งานประเพณีกราบนมัสการ หลวงปู่ทองมา ถาวโร

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัติ หลวงปู่ทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี จ.ร้อยเอ็ด โดยสังเขป


เฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/LuangpuThongmaTawaro101

ย้อนไปเมื่อ ๑๑๔ ปี ที่แล้ว ตรงกับวันที่ ๘ สิงหาคม 
พุทธศักราช ๒๔๔๓ วันเสาร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ปี ชวด

เด็กชายทองมา ได้ถือกำเนิดที่บ้านท่าสี จ.ร้อยเอ็ด บิดาชื่อ นายแก่นท้าว มารดาชื่อ นางทา(หา) บิดามารดาของท่านเป็นชาวลาว ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด ๗ คน หลวงปู่ทองมา เป็นบุตรคนที่ ๒ ตอนเป็นเด็ก เด็กชายทองมา ก็มีนิสัยเหมือนกับเด็กทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ชอบเข้าวัด ช่วยหลวงพ่อกวาดใบไม้ ถูศาลาเป็นประจำ จนเป็นที่รักของพระสงฆ์ในวัด นิสัยอย่างหนึ่งคือเป็นเด็กที่กลัวผี และจะมาอ้อนวอนให้หลวงพ่อที่วัดช่วยสอนวิชากันผีให้ เด็กชายทองมา เป็นเด็กฉลาด เรียนเก่ง พอครบอายุ ๑๕ ปี โรงเรียนบ้านเชียงใหม่ เลยได้มาทาบทามให้ไปเป็นครูสอนที่โรงเรียน เพราะสมัยนนั้นครูหายากมาก ขาดแคลนครู นายทองมาเลยรับอาสาไปเป็นครูช่วยสอนเด็กนักเรียน ด้วยความเต็มใจ

หลวงปู่ทองมา ถาวโร ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ตั้งแต่เป็นสามเณร ตอนอายุได้เพียง ๑๖ ปี ท่านเป็นสามเณรที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างมาก ท่านเรียน สวดมนต์น้อย สวดมนต์กลาง และสวดมนต์ใหญ่ จนสำเร็จ สามเณรทองมาท่านมีความในสนใจอักขระธรรม หรือโตธรรม เป็นอย่างมาก เมื่อมีโอกาสท่านจะออกเดินทางไปเรียนมูลกัจจายน์ที่อุบลราชธนี ซึ่งเป็นเมืองที่มีการสอนธรรมะที่รุ่งเรืองมากในสมัยนั้น สามเณรทองมาเป็นสามเณรที่เคารพเชื่อฟังผู้เป็นครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง จนเป็นที่เอ็นดูของอาจารย์และญาติโยมทั่วไป

ในปี พุทธศักราช ๒๔๖๓ ครบอายุ ๒o ปีหลวงปู่ก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดท่าม่วง ต.ท่าม่วง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พระครูสีลาจารวิสุทธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควบคู่กับการปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เมื่อได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว หลวงปู่ก็คิดว่าหากจะอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ โอกาสที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ที่แท้จริง ก็คงจะยากและใช้เวลานาน หลวงปู่จึงได้กราบลาขออนุญาติเจ้าอาวาส ออกเดินทางจาริกธุดงค์ ไปศึกษา ร่ำเรียนวิชา จากสำนักต่างๆ ทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน ระหว่างการเดินธุดงค์ หลวงปู่ได้กราบตัวเป็นศิษย์ ของพระอริยเจ้าอีกหลายรูป คือ "หลวงปู่มั่น ภูริทัติโต" ที่ภูเขาควาย ประเทศลาว และได้เดินธุ์ดงค์ไปฝากตัวเป็นศิษย์ ของ "สมเด็จลุน" แขวงจำปาศักดิ์ประเทศลาว อันเป็นบ้านเกิดของบิดามารดาของท่านเอง หลังจากนั้นก็เดินทางกลับท่านก็ได้กราบตัวเป็นศิษย์ ของ"หลวงปู่เงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร" อีกด้วย

การเดิน ธุดงค์ ของหลวงปู่ไม่ได้ เดินธุดงค์ภายในประเทศเพียงเท่านั้น หลวงปู่ยังเดินธุงค์ไปทั่วทุกทิศ เช่น ในไทย ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศเขมร ประเทศเวียดนาม และที่สำคัญหลวงปู่ได้เดินธุดงค์ไปยังดินแดนพุทธภูมิ นั้นคือ ประเทศอินเดีย นั่นเอง
ในช่วงระหว่างการเดินธุดงค์ของหลวงปู่ไม่มีใครคอยติดตาม รายละเอียดต่างๆ เช่น เดินธุดงค์ไปไหนบ้าง เจออะไรบ้าง ฝากตัวเป็นศิษย์ของใคร หลวงปู่ก็จะไม่ค่อยเล่าให้ฟังมากนัก นอกจากจะมีคนมาถามอยากจะรู้ หลวงปู่ถึงเล่าให้ฟัง เพราะหลวงปู่เป็นพระที่พูดน้อย สุขม เยือกเย็น แต่น่าเกรงขาม

ในระหว่างการเดินธุดงค์หลวงปู่ได้ผจญ กับอันตรายต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ร้ายต่างๆนา เช่น เสือ งู และช้างป่า จนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด หลายครั้ง แต่ด้วยชีวิตอุทิศให้พระธรรมแล้วไซร์ ถ้าจะตายก็ขอให้เรา ตายเพื่อพระธรรม เถิด (หลวงปู่ปารภอยู่ตลอดการเดินทาง) ตลอดการเดินธุดงค์ของหลวงปู่ หลวงปู่ก็ตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อย่างแท้จริง ชนิดที่เรียกว่า ไม่รู้ไม่เห็นไม่หลุดพ้น ก็จะไม่ยอมออกจากป่าเขาเลย หลวงปู่ทรงโปรด ผู้คนในป่าเขาเลาเนาไพร ให้หันมานับถือพระรัตนตรัย เทศนาสั่งสอนเทวามิจฉาทิฐิ โปรดภูตผี ปีสาจ วิญญาณสัมพเวสี ให้รู้แจ้งในธรรม...มากมาย โดยที่หลวงปู่มีเพียง"ธรรมาวุธ"
และจิตที่ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย อันเป็นสิ่งเดียวที่หลวงปู่ ยึดถือเอา

ธุดงค์อยู่ในป่า ก็หลายปีแล้ว หลวงปู่จึงตัดสินใจก็เดินทางกลับมาจำพรรษาที่ จังหวัดร้อยเอ็ด รวมเวลาที่หลวงปู่ ท่องเที่ยวธุดงค์ในวิเวก ป่าเขาลำเนาไพร ก็เป็นเวลาหลายปีเลยทีเดียว หลวงปู่ได้นำพาชาวบ้าน ในการพัฒนาวัดวาอาราม สร้างโบสถ์วิหาร เทศนาให้ชาวบ้านให้หันมานับถือพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ห้ามนับถือผี สาง นางไม้ ช่วยผู้คนที่มีทุกข์ เช่น คนที่โดน ผีเจ้าเข้าสิง ผีบอป ผีกองกอย หลวงปู่โปรดพวกผีเหล่านี้โดยใช้ "ธรรมะ" รวมทั้งรักษาคนบ้า คนวิกลจริต ทั้งที่โดน คุณไสย์ มนต์ดำ หรือ บ้าเพราะความเครียด หลวงปู่ก็ช่วยพวกเขาเหล่านั้น ด้วยความเมตา ไม่เลือกคนรวยคนจน ไม่เลือกปฎิบัติ หลวงปู่มีความเมตตา ญาติโยมทุกคนเท่าเทียมกันหมด ไม่แยกแยะว่าจะเป็นคนไกล้ชิดหรือเป็นญาติโยมที่เดินทางมาจากต่างถิ่นแดนไกล

ในบั้นปลายชีวิต ที่ท่านล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ร่างกายของหลวงปู่ในวัยชรานั้นอ่อนแรงมาก หลวงปู่ผอมมากไม่เหมือนเก่า จะลุกจะเดินเหินไปไหนก็ยากลำบาก บางครั้งท่านต้องนั่งรถเข็น และบางครั้งลูกหลานทั้งหลายต้องช่วยประคองพยุงกายช่วยท่านหลวงปู่ อยู่เสมอๆ และหลวงปู่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดินเหินไปมา ทุกๆมื้อเพิ่นจะนั่งอยู่บนกุฏิไม้เก่าๆ คอยโปรดญาติโยมที่แวะเวียนมากราบนมัสการท่านอยู่เสมอๆ ซึ่งแวะเวียนกันมาจากคนละทิศ เหนือใต้ออกตก มาทุกมื้อไม่เว้นเลย

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หลวงปู่ของหมู่เฮา...เพิ่นก็ไม่เคยเบื่อ ไม่เคยบ่น ไม่เคยหนีไปไส คอยโปรดญาติโยม ที่เข้ามากราบนมัสการ อย่างนี้ทุกวัน สมกับที่เพิ่นเคยบอกไว้ว่าอยู่เสมอ "ว่าเพิ่นเป็นคนของชาวบ้าน" จริงๆ

"โพ่นล่ะหลังจากญาติโยมเมือกลับหมดแล้ว ตอนค่ำๆ ท่านจึงค่อยไปสรงน้ำทำกิจวัตรส่วนตัว ไหว้พระสวดมนต์เจริญสมาธิภาวนา และสุดท้ายท่านก็แผ่เมตตาให้ ลูกหลาน ลูกเผิ่งลูกเทียน แล้วจึงนอนพักผ่อน หลวงปู่ทองมา ถาวโรเป็น พระอริยเจ้า ที่น่าเคารพนับถือ ศรัทธา น่ากราบไหว้ อย่างยิ่ง สมควรแล้วที่ชาวบ้าน เรียกเพิ่นว่า พระนักบุญ "พระโพธิสัตว์มาโปรด"

หลวงปู่ทองมา ละสังขาร เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๔ รวมอายุ ๙๑ ปี พรรษา ๗๑ / ๓ พรรษาสามเณร

1 ความคิดเห็น: